แหล่งอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียง และรู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่บริเวณบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์และเครื่องมือเครื่องใช้มากมาย โดยเฉพาะภาชนะดินเผาที่มีความสวยงาม ประณีต เขียนสีเป็นลวดลายงดงาม ได้แก่ ลายก้นหอย ลายรูปสัตว์ ลายเส้นโค้ง และลายรูปเรขาคณิต น่าจะทำไว้สำหรับใช้ในพิธีฝังศพโดยเฉพาะพบใบหอกทำด้วยเหล็กด้ามหุ้มสำริด สันนิษฐานว่าบ้านเชียงเป็นแหล่งอารยธรรมในดินแดนประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนั้น มนุษย์ยุคโลหะรู้จักการทอผ้าไหม
ใช้แล้วมีหลักฐานจากใยไหมที่พบที่โครงกระดูกมนุษย์ที่บ้านเชียงและรู้จักการปลูกข้าว
โดยใช้ระบบชลประทานแทนการทำไร่เลื่อนลอย มีการใช้ควายในการไถนา
นอกจากนั้นที่บ้านเชียง ได้มีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์เป็นจำนวนมาก ประเพณีการฝังศพจึงนับเป็นพิธีกรรมที่สำคัญของบ้านเชียงก่อนที่จะนำศพไปฝัง จะแต่งตัวให้กับผู้ตายและใส่เครื่องประดับ ลักษณะของศพฝังสมัยปลายของบ้านเชียงในลักษณะท่านอนเหยียดยาว แล้ววางภาชนะดินเผาทับไว้บนศพ ส่วนภาชนะดินเผาช่วงต้นของสมัยปลายจะเป็นการเขียนลายสีแดงบนพื้นสีนวล ต่อมาในช่วงกลางสมัยเริ่มมีภาชนะดินเผาเขียนลายสีแดงบนสีแดง ถัดมาในช่วงสุดท้ายของสมัยเริ่มมีภาชนะดินเผาชนิดฉาบผิวนอกด้วยน้ำโคลนสีแดง แล้วขัดมัน

พิพิธภัณฑสถานกลางแจ้ง บ้านเชียงที่วัดโพธิ์ศรีใน
แสดงหลุมฝังศพที่มีภาชนะดินเผาลายเชียงสี วางบนศพ
ที่มาภาพ อุดรธานี กำเนิดยุคก่อนประวัติศาสตร์ของอารยธรรม. หน้า 184.

กำไลสำริดหล่อมีเศษสิ่งทอตัดอยู่ พบในหลุมศพที่บ้านเชียง
มีอายุประมาณ 3,000 ปี แสดงว่าคนยุคนี้ทอผ้าเป็นแล้ว
ที่มาภาพ ประวัติศาสตร์ของแผ่นดินไย. หน้า 30.
|